10 แนวโน้มการใช้ Cloud ในภาคธุรกิจ ปี 2018
ทาง บริษัทวิจัย forrester ได้พูดถึง10 แนวโน้มของภาคธุรกิจ ในการนำ cloud มาประยุกต์ใช้ในการทำ transformation ของธุรกิจ ในปี 2018 ที่จะถึงนี้ ดังต่อไปนี้
ประการแรก ผู้ให้บริการ public cloud สำหรับเจ้าใหญ่ๆที่ให้บริการทั่วโลกซึ่งส่วนใหญ่มาจากทางอเมริกา ก็น่าจะยังคงเป็นรายเดิมๆ อาทิเช่น Amazon, Microsoft, Google,IBM เป็นต้น คงไม่น่าจะมีเจ้าใหม่ๆเข้ามาแข่ง เพียงแต่สิ่งที่องค์กรพึงต้องระวังคือความเสี่ยงในการที่จะติดกับดักของเทคโนโลยี(lock-in)จากผู้ให้บริการ โดยเมื่อมีการสร้างระบบไปใช้บริการแล้ว เมื่อมีความประสงค์จะย้ายออกมาไปใช้บริการของรายอื่นหรือกลับมาใช้ในศูนย์คอมพิวเตอร์ของตัวเอง จะทำได้ยาก และอาจต้องเสียค่าใช้จ่ายที่สูง จึงควรมีการบริหารความเสี่ยงดีๆ
ประการที่สอง ผู้ให้บริการ SaaS บางรายอาทิเช่น Salesforce ผู้ให้บริการด้าน CRM เริ่มสร้างบริการทางด้าน platform ขึ้นมาเพื่อให้ผู้ใช้บริการขยายขีดความสามารถของทางระบบที่มีอยู่เพื่อรองรับดิจิตอลเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้แก่ AI ,IoT เป็นต้น Workday ผู้ให้บริการทางด้านการจัดการทรัพยาการบุคคล ก็เริ่มเปิดตัว Cloud Platform ของตัวเองขึ้นมา เพื่อรองรับการ customize และให้ผู้พัฒนามาใช้บริการสร้างฟังก์ชันต่อยอดเช่นกัน และคงมีแนวโน้มในการสร้างบริการรูปแบบนี้มากขึ้นจากผู้บริการ SaaS ในปัจจุบัน ดังนั้นทางบริษัท เริ่มที่จะต้องให้ความสำคัญกับการมี platform ต่อยอด เป็นเงื่อนไขหนึ่งในการประเมินการตัดสินใจเลือกใช้บริการ SaaS จากผู้บริการรายใด
ประการที่สาม ตลาดผู้ให้บริการ cloud ที่อยู่ในโซนหรือย่านอื่นๆของโลกนอกเหนือจากอเมริกา เริ่มพยายามสร้างจุดเด่นของตัวเองในการดึงลูกค้ามาใช้บริการเพื่อแข่งขันกับผู้ให้บริการรายใหญ่ โดยอาจอาศัยจุดเด่นของการตั้ง data center ในโซนหรือประเทศที่ต้องการเจาะกลุ่มลูกค้าของตัวเอง หรือ อาจจะตั้งเป็น cloud สำหรับการบริการเฉพาะกลุ่มภาคธุรกิจอุตสาหกรรมบางกลุ่ม เช่น CityCloud ของประเทศ สวีเดน เน้นการให้บริการกลุ่มธุรกิจไฟแนนซ์ เป็นต้น ซึ่งเป็นการเพิ่มทางเลือกสำหรับองค์กรในการเลือกใช้บริการcloud ให้สอดคล้องกับนโยบายกับความต้องการของแต่ละองค์กร
ประการที่สี่ ปี2018 น่าจะเป็นปีทองของ opensource kubernetes ระบบบริหารจัดการ container ซึ่งได้รับการยอมรับจากตลาดเหนือกว่า opensource ค่ายอื่น โดยเฉพาะการที่มี Cloud Native Computing Foundation (CNCF) community ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีการเติบโตค่อนข้างรวดเร็วในช่วงปีที่ผ่านมา ให้การสนับสนุน โดยในปีหน้านี้ทางองค์กรต่างๆน่าจะเริ่มต้นในการสร้างทักษะของบุคคลากรและเริ่มมองหาโครงการนำร่องที่จะใช้กันอย่างกว้างขวาง
ประการที่ห้า ความปลอดภัยของข้อมูลจากผู้ให้บริการcloud จากที่แต่เดิมมี option ในการให้ผู้ซื้อบริการสามารถเลือกซื้อมากมายและหลากหลาย อาทิเช่น เรื่องการเข้ารหัสข้อมูล, cloud security gateway หรือ อื่นๆ และบางทีก็มักจะเกิดปัญหากรณีที่เมื่อเลือกใช้เครื่องมือรักษาความปลอดภัยจากผู้ให้บริการรายนึง ไม่สามารถใช้ทำงานร่วมกับบริการจากผู้ให้บริการรายอื่นได้. แนวโน้มในปีหน้านี้ บริการความปลอดภัยบางอย่างเริ่มถูกเชื่อมโยงเข้าไปเป็นส่วนของ platform ของผู้ให้บริการcloud และบริการด้านความปลอดภัยเริ่มมองการเชื่อมโยงในรูปแบบ cross platform มากขึ้น โดยสามารถที่จะทำงานร่วมกับผุ้ให้บริการcloud ไม่ว่าจะเป็น IaaS ,PaaS และ SaaS ยกตัวอย่างเช่น การเข้ารหัสที่สามารถทำงานร่วมกับผู้ให้บริการทั้งสามรูปแบบดังกล่าว เป็นต้น
ประการที่หก Microsoft Azure stack ช่วยกระตุ้นให้องค์กรเริ่มมองทางเลือกการนำ cloud มาใช้ในรูปแบบ private หรือ Hybrid มากขึ้น นอกจากนี้ก็มี vendor รายอื่น อาทิเช่น IBM , Oracle เป็นต้น ก็นำเสนอ solution ในลักษณะคล้ายๆกัน ส่วนผู้ให้บริการ public cloud ก็เสนอทางเลือกให้ private cloud solution สามารถขยายขีดความสามารถมาใช้บริการบน public ได้ เช่น Vmware บน AWS หรือ Nutanix Xi บน Google Cloud Platform(GCP) เป็นต้น ปีนี้น่าจะเริ่มเห็นลูกค้าบางรายเริ่มทดสอบการใช้งาน hybrid cloud คงต้องรอดูผลลัพธ์ว่าจะเป็นอย่างไรบ้าง
ประการที่เจ็ด การเกิดใหม่ของเทคโนโลยี private cloud ซึ่งให้ความสำคัญกับการมี platform ช่วยเพิ่มความเร็วในการพัฒนา application ใหม่ๆบนพื้นฐาน cloud native และ ช่วยในการปรับปรุง applicationในองค์กรให้มีความทันสมัยมากขึ้นเพื่อรองรับนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องทางธุรกิจได้รวดเร็ว private cloud ที่รองรับ IaaS มีแนวโน้มที่จะได้รับความสนใจน้อยลงเนื่องจากความคุ้มค่าในมุมของธุรกิจน้อย ในปีหน้านี้องค์กรเริ่มที่จะมองการปรับตัวในนโยบายการลงทุนบริการcloud โดยเริ่มที่มอง private cloud ที่ให้ความสำคัญกับ platform มากขึ้น
ประการที่แปด ซอฟแวร์ที่ใช้ในการบริหารจัดการ hybrid cloud น่าจะถูกนำมาใช้มากขึ้นซึ่งสามารถซื้อจาก vendor ในลักษณะ point solution หรืออาจจะถูกให้มาเป็นส่วนหนึ่งของ vendor ที่ขายหรือให้บริการ cloud platform โดยที่อาจจะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม โดยองค์กรต้องดูค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมในการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องมือกลุ่มนี้มาใช้งาน
ประการที่เก้า traffic workload ของเครือข่าย network ที่ลงทุนในองค์กรเริ่มมีแนวโน้มถูกแบ่งไปใช้บริการจากผู้ให้บริการภายนอกมากขึ้นประมาณ 10% เนื่องด้วยทิศทางการเริ่มวางนโยบายในการนำรูปแบบ multi-cloud เข้ามาใช้ ผู้ให้บริการ cloud เริ่มสร้างทางเลือกการบริการทางด้านเครือข่ายที่หลากหลายมากขึ้น ซึ่งทำให้องค์กรสามารถเลือกบริการบนพื้นฐานของราคาที่เหมาะสม โดยสามารถรองรับความเร็วของเครือข่ายตามที่ต้องการใช้จากผู้ให้บริการต่างๆ นอกจากนี้ควรที่จะให้ทีมพัฒนามีพื้นฐานความเข้าใจของการเลือกเครือข่ายที่ใช้ ก็จะช่วยให้รองรับการออกแบบ application ให้เหมาะสมกับการใช้งานได้ดียิ่งขึ้น
ประการสุดท้าย องค์กรควรเริ่มมองถึงการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมในการทำงานที่จะพัฒนา application บน cloud สมัยใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดได้เร็วขึ้นโดยการลงทุนส่งพนักงานไปเรียนและทำความเข้าใจถึงกระบวนการใหม่ๆที่เกิดขึ้น อาทิเช่น DevOps เป็นต้น ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญอันหนึ่งในการทำ transformation ขององค์กร โดยสามารถเรียนรู้จากองค์ความรู้จาก vendor ในตลาด อาทิเช่น IBM Cloud Garage Method, Pivotal Labs หรือ RedHat Innovation Center เป็นต้น