แนวโน้มของเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) ในปี 2018
เริ่มขยับจากการทดลองใช้งานเข้าสู่การเริ่มสร้างมูลค่าทางธุรกิจ
ทางบริษัทวิจัย Forrester คาดการณ์ว่าในอนาคต IoT จะเปรียบเหมือนแกนกลางของการสร้างมูลค่าหรือประสบการณ์ใหม่ๆสำหรับลูกค้า โดยถ้าได้มีการรวบรวมเก็บข้อมูลจากอุปกรณ์ sensor ต่างๆ จะทำให้สามารถเข้าถึงบริบท(context)ของลูกค้าแต่ละราย เพื่อเข้าใจถึงข้อมูลพฤติกรรมเชิงลึก(insights) และใช้สร้างบริการทางธุรกิจใหม่ๆที่ตอบสนองกับความต้องการของลูกค้าในช่วงเวลาที่เหมาะสมได้อย่างถูกต้อง เทคโนโลยี IoT
เทคโลโนโยี IoT ส่งผลกระทบต่อการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกิจ และ บทบาทของบุคลากรในองค์กร
นักการตลาดเริ่มมองการนำเทคโนโลยี IoTมาใช้ในการทำตลาดมากขึ้น โดยถูกนำมาใช้ในการสร้างลูกค้าสัมพันธ์และสร้างประสบการณ์ใหม่ๆกับลูกค้า ยิ่งการเกิดขึ้นของโปรแกรมตัวแทนปัญญา(intelligent agent) ซึ่งสามารถนำมาใช้ให้บริการแทนคน โดยพัฒนาจากเทคโนโลยี Amazon Alexa ,Google Assistant หรืออื่นๆ โดยสามารถไปใช้ร่วมอุปกรณ์ต่างๆที่ไม่ใช่มือถือ อาจเป็นพวกอุปกรณ์ wearables หรืออื่นๆ ทำให้นักการตลาดสามารถมองแนวทางใหม่ๆในการนำเสนอการสร้างวิธีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าได้ ต่อยอดจากการทำการตลาดผ่านมือถือ ณ ปัจจุบัน
กลุ่มสหภาพยุโรปออกกฏระเบียบใหม่โดยเปิดให้มีการนำข้อมูลของ IoT สามารถไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ ซึ่งถูกนำมาใช้เป็นตัวขับเคลื่อน data economy ทำให้เกิดความอิสระในการนำข้อมูลมาแลกเปลี่ยนกันเพื่อให้เกิดแนวนวัตกรรมใหม่ๆจากข้อมูล ( data innovator) ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกิจ ยกตัวอย่างเช่น ทางบริษัท Michelin ซึ่งเป็นผู้ผลิตยางมีบริการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจสอบและวิเคราะห์คุณภาพยางของรถบรรทุกที่ใช้งาน และสามารถแจ้งข้อมูลประสิทธิภาพการใช้งานของยางล้อรถบรรทุก มายัง fleet operator แต่ละรายได้ เพื่อใช้ในการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายการเปลี่ยนยางได้อย่างมีประสิทธิผล
การสร้างบริการเรียกใช้งานผ่านเสียงภายในองค์กรขนาดใหญ่จะโตขึ้นจากเดิมสองเท่าตัวในปี 2018 ในช่วงปีที่ผ่านมา หลังจากการเปิดตัวของ amazon alexa ซึ่งเป็นบริการการสั่งงานผ่านเสียง ก็กระตุ้นให้ตลาดเกิดการพัฒนาอุปกรณ์ต่างๆมาใช้งานร่วมมากมาย แต่ส่วนใหญ่ทักษะจะกระจายอยู่ตามบริษัทเล็กๆ ส่วนทางองค์กรขนาดใหญ่ จะเน้นการทำเป็น pilot โดยเฉพาะการสร้าง “ระบบผู้ช่วยเสมือน” (virtual assistant) ให้บริการกับผู้บริโภค เนื่องด้วย ค่าอุปกรณ์ที่ถูกลง, การพัฒนาของเทคโนโลยี AI อาทิเช่น ด้าน natural language understanding(NLU) , ฮาร์ดแวร์เริ่มผลิตชิปที่ใส่ AI อัลกอริทึมเข้าไป, ชิปที่มีความสามารถประมวลผลเร็วขึ้นเรื่อยๆ, เครือข่ายไร้สายที่รองรับแบนด์วิธมากขึ้น สิ่งเหล่านี้ล้วนช่วยเป็นตัวผลักดันในการสร้างระบบการสั่งงานผ่านเสียงท่ีมีคุณภาพสูงขึ้นเพื่อนำไปสู่การใช้งานจริงกับผู้บริโภค
ปี 2018 IoT infrastructure มีแนวโน้มมุ่งเน้นไปใช้การประมวลผลแบบ edge มากขึ้น บทบาทความสำคัญจะคลอบคลุมไปทั้งในส่วนพัฒนาและทางด้าน operation
การประมวลผลของข้อมูลให้อยู่ใกล้กับแหล่งที่มาของข้อมูลที่ส่งจากอุปกรณ์ IoT ต่างๆ ที่เรียกว่า Edge based IoT Computing มีแนวโน้มที่จะถูกผลักดันให้เกิดมากขึ้นด้วย ธุรกิจทางภาคอุตสาหกรรมการผลิต (manufacturing) และ ปัจจัยด้านความปลอดภัยของระบบ เนื่องด้วยอุปกรณ์ IoT ที่เป็นประเภท sensor ต่างๆมีการเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ที่ใช้ในภาคการผลิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งตามพวกโรงงานต่างๆ ซึ่งถือเป็นสินทรัพย์ที่สำคัญขององค์กร โดยจะมีการส่งสถานะการทำงาน สภาพแวดล้อม ตำแน่ง ของอุปกรณ์ ซึ่งระบบจำเป็นต้องรวบรวมข้อมูลเหล่านี้เพื่อใช้ในการสร้างข้อมูลจากการวิเคราะห์เชิงลึก (insights) แจ้งไปยังผู้ที่รับผิดชอบเพื่อสามารถตัดสินใจและสั่งการได้ทันท่วงทีในรูปแบบ real time ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีเกิดไฟไหม้, มีคนบุกรุกเข้ามาในอาคาร หรือ กรณีอุปกรณ์มีแนวโน้มที่จะชำรุด ส่งผลให้สายการผลิตไม่ทำงาน เป็นต้น ดังนั้นองค์กรควรพิจารณาความเหมาะสมในการพิจารณาการเลือกโซลูชั่น IoT ว่า use case ไหน ที่เหมาะในการประมวลผลรูปแบบ edge น่าจะเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพได้ดีกว่า
ผู้พัฒนาระบบโซลูชัน IoT platform รองรับภาคอุตสาหกรรม (industrial) รายใหญ่ๆ ยกตัวอย่างเช่น Bosch, GE, Siemens เป็นต้น เริ่มขยับตัวออกจากการลงทุนบน Infrastructure ของตัวเอง เริ่มที่จะไปใช้ Infastructure ของผู้ให้บริการ cloud รายใหญ่มากขึ้น อาทิเช่น AWS, Microsoft หรือ IBM เนื่องด้วยผู้บริการ cloud มีการขยายขอบเขตการให้บริการครอบคลุมไปยังประเทศต่างๆทั่วโลก และการที่จะเปิดให้บริการcloudได้ ยังต้องมีขั้นตอนต้องผ่านกฏระเบียบ compliance ที่ค่อนข้างเข้มงวด นอกจากนี้ผู้บริการ cloudดังกล่าว ยังได้เพิ่มศักยภาพ IoT platform ของตัวเองในตลาด ดังนั้นแนวโน้มผู้พัฒนาโซลูชัน IoT จะเริ่มมุ่งเน้นการใช้ความรู้และความเชี่ยวชาญทางด้านธุรกิจอุตสาหกรรมที่มีอยู่ในการสร้างโซลูชันตามความต้องการผู้ใช้ มากกว่าที่จะสนใจส่วนของ infrastructure โดยต่อยอดหรือร่วมกับผู้ให้บริการ cloud ในการนำเสนอโซลูชันในรูปแบบองค์รวม
IoT Offerings ต่างๆที่มีอยู่ในตลาด เริ่มปรับตัวโดยผู้ขายเริ่มนำเสนอบริการใหม่ๆให้มีความสามารถครอบคลุมการใช้งานจากทุกกลุ่มผู้ซื้อที่เกี่ยวข้อง โดยในตลาด ณ วันนี้ มองกลุ่มผู้ซื้อเป็น สามกลุ่ม กลุ่มแรก คือ กลุ่มนักพัฒนาที่มองหา platform ในการพัฒนา IoT เพื่อทำโซลูชันตาม use caseที่ต้องการ กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่เป็นเป้าหมายหลักของตลาดในช่วงที่ผ่านมา แต่ทางบริษัทวิจัยเชื่อว่าในปีหน้าทางผู้ขายบริการจะเน้นที่อีกสองกลุ่มผู้ใช้ ได้แก่ กลุ่มผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ (product designer) เพื่อรองรับ IoT ซึ่งกลุ่มนี้ต้องการใช้ความสามารถทางด้าน remote product management, monitor และ control และกลุ่มงานทางด้าน business operator ซึ่งมีความต้องการซอฟแวร์ orchestration เพื่อใช้ในการเชื่อมโยงสินทรัพย์ที่บริหารจัดการด้วย IoT เข้ากับขั้นตอนของกระบวนการทำงานที่ใช้ในการทำธุรกิจ
มีแนวโน้มที่ผู้พัฒนา IoT application จะไปใช้ platform จากผู้ให้บริการcloud ไม่ว่าจะเป็น AWS , Microsoft Azure หรือ IBM ด้วยเหตุผล 5 ประการ คือ 1) ค่าใช้จ่ายเริ่มต้นที่ต่ำ 2) รวดเร็วในการใช้สร้าง prototype 3) ง่ายในการเข้าถึงจากทั่วโลก 4) ง่ายในการเชื่อมโยงข้อมูลกับข้อมูลที่อยู่ในองค์กรเพื่อนำมาใช้ประมวลผลร่วมกัน 5) เนื่องด้วยปริมาณข้อมูลจากอุปกรณ์IoT ที่ส่งเข้ามาประมวลผลที่ platform มีแนวโน้มที่สูงมากขึ้น เพื่อลดค่าใช้จ่ายเพื่อรองรับปริมาณข้อมูลที่สูงและค่าแบนด์วิธของเครือข่าย จึงมีการออกแบบให้ต้องพัฒนาโซลูชั่นในรูปแบบ edge ยกตัวอย่างเช่น การพัฒนาโปรแกรมมาประมวลผลที่อุปกรณ์ที่เป็น gateway ของ IoT แทน ซึ่งผู้ให้บริการ cloud ที่กล่าวมาข้างต้น ต่างก็สนับสนุนการพัฒนารองรับเทคโนโลยี edge computing ทั้งสิ้น
ในปี 2018 เรื่องความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูลก็ยังเป็นความท้าทายหลักของการใช้งานเทคโนโลยี IoT
IoT ถูกมองเป็นศูนย์กลางของการโจมตีทางไซเบอร์ ในช่วงปลายปี2016 จะได้ยินข่าวว่า มี botnet ที่ชื่อว่า mirai ซึ่งมีสามารถเข้าไปควบคุมอุปกรณ์ อาทิเช่น กล้องที่ทำงานบนเครือข่าย ip หรือ router ตามบ้าน เป็นต้น ได้มีการโจมตี ในรูปแบบ DDoS (distributed denial of service) ไปยังบริษัท Dyn ซึ่งให้บริการทางด้าน DNS ทางบริษัทวิจัยคาดว่าในปี 2018 การโจมตีเข้าไปบนยังเครือข่ายIoT น่าจะมีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องด้วยแฮคเกอร์น่าจะพยายามมองหาช่องโหว่ในอุปกรณ์ ยิ่งอุปกรณ์ที่มีข้อมูลที่ sensitive อยู่ด้วยน่าจะเป็นเป้าหมายสูงสุดของกลุ่มแฮกเกอร์ ในการทำ data exfiltration ซึ่งคือ การขโมยข้อมูลที่ต้องการจากเครือข่ายออกสู่ภายนอก โดยสามารถหลีกเลี่ยงการตรวจจับ ดังนั้นในแต่ละองค์กรที่จะนำเทคโนโลยี IoT มาใช้ จึงจำเป็นที่ต้องมั่นใจในการที่ต้องมีระบบความปลอดภัยที่เพียงพอ เพื่อป้องกันการโจรกรรมข้อมูลเข้ามายังเครือข่ายอุปกรณ์ IoT ที่ใช้งาน
เนื่องจากเทคโนโลยี blockchain ได้ก้าวเข้ามาเสริมความแข็งแรงเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล ทำให้มีแนวโน้มที่จะมีการนำข้อมูล IoTในบางเรื่องเข้ามาใช้งานร่วมกับ blockchain มากขึ้น โดยคาดว่าอยู่ที่ประมาณ 5%จากproject IoT ทั้งหมด ยกตัวอย่างเช่น บริษัท chronicled ที่อเมริกา ได้ออกแบบโซลูชั่นทาง supply chain โดยมีการเชื่อมโยงข้อมูล IoT กับ blockchain