top of page

มาทำความเข้าใจเทคโนโลยี Blockchain เพื่อป้องกันความสับสน(ตอนจบ)

ที่ผ่านมาจากสองตอนที่แล้ว ได้ทำความรู้จักกับ Blockchain ค่าย Hyperledger และค่าย Ethereum กันไปบ้างแล้ว คราวนี้เรามาดูต่อกันเลยในค่ายที่เหลือที่พอเป็นที่รู้จักในตลาดเวลานี้

R3 Corda เริ่มต้นมาจากกลุ่มสถาบันทางด้านการเงิน ส่วนใหญ่คือกลุ่มธนาคาร โดยเริ่มต้นจาก 9 สถาบัน (หนึ่งในผู้ก่อตั้งก็คือ JP Morgan แต่ได้แยกออกมาทำ blockchain ของตัวเองที่ชื่อ Quorum) ปัจจุบันมีสมาชิกมากกว่า 70 สถาบันทางการเงิน ดังนั้นจะเห็นว่า Corda ตั้งใจนำมาใช้ในธุรกรรมทางด้านการเงินเป็นหลัก ไม่ได้วางแผนไปใช้กับธุรกิจด้านอื่นเลย Corda เปิดเป็น open source ประมาณปลายปี 2016 ความจริงต้องเรียก R3 Corda ว่า เป็นกลุ่มเทคโนโลยี DLT เนื่องจาก Corda ไม่ได้จัดเก็บ ledger ในรูปแบบ blockchain แต่มีการออกแบบให้เป็นลักษณะ permissioned ledger และ มีบริการ identity ของตัวเองในการตรวจสอบสมาชิกในเครือข่าย ส่วนการยืนยันทรานแซคชั่นทำผ่าน node ที่เรียกว่า notary node ในส่วน smart contract รองรับการพัฒนาด้วยภาษา kotlin และ java ซึ่งทำงานภายใต้ Java Virtual Machine เมื่อปลายปีที่แล้ว R3 ได้ประกาศความร่วมมือกับทาง Amazon ในการรองรับ Corda ทำงานบน AWS คลาวด์ ซึ่งถือเป็น DLT ค่ายแรกที่ทำงานบน AWS Marketplace

The Coco (Confidential Consortium) Framework จากทางบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Microsoft ซึ่งมีการประกาศเปิดตัวไปเมื่อสิงหาคมปีที่แล้ว Coco framework ค่อนข้างแตกต่างจาก กลุ่ม Blockchain ที่ได้กล่าวผ่านมา เนื่องด้วย Coco ไม่ได้ออกแบบให้มี โมเดล blockchain ledger หรือส่วนที่เป็น smart contract ของตัวเอง แต่มุ่งเน้น การสร้างเป็น Blockchain framework กลางที่สามารถรองรับ การทำงานร่วมกับ smart contract จาก blockchain ledger ค่ายต่างๆได้ ได้แก่ Etheruem, Quorum, R3 Corda และ Hyperledger Sawtooth โดยสามารถนำ code จากค่ายต่างๆเหล่านั้นมาทำงานภายใต้ Trusted Execution Environments(TEEs) ที่ออกแบบไว้ภายใต้ Coco ซึ่งได้แก่ บนเทคโนโลยี Intel SGX (เหมือนที่ใช้ใน Sawtooth) หรือ Windows virtual secure mode(VSM) ที่พัฒนาจากทาง microsoft เอง ดังนั้นวัตถุประสงค์ของ Coco คือการสร้าง common blockchain runtime ที่มีอัลกอริทึม consensus ที่มีประสิทธิภาพ (ตามเอกสารของ microsoft ตั้งใจใช้ Crash Fault Tolreance แทน BFT), มีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่แข็งแรง,มีโมเดล governance และการจัดเก็บข้อมูล ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นคุณสมบัติของ private blockchain นั่นเอง แต่แค่ไม่มี smart contract ของตัวเอง default ก็คือไปใช้ smart contract ของค่าย Ethereum แต่เปิดให้รองรับค่ายอื่นๆในตลาดด้วย ทางบริษัท ตั้งใจที่จะเปิดเป็น open source ในช่วงต้นปีนี้ แต่จนถึงเวลานี้ก็ยังไม่ได้เปิด คงต้องรอติดตามกันต่อไป

นอกเหนือจากที่กล่าวมา ก็ยังมี อีกหลายค่ายอยู่อีกพอควรเหมือนกัน อาทิเช่น BigchainDB, Chain, MultiChain, HydraChain, Openchain, Eris, Elements เป็นต้น ในกลุ่มเหล่านี้จัดอยู่ในกลุ่มที่มีผลกระทบกับตลาด blockchain ในภาพรวมยังน้อยอยู่

กล่าวโดยสรุปจากบทความทั้ง 5 ตอน หวังว่าหลายๆท่านที่ได้อ่าน จะได้เข้าใจถึงตลาด ของ blockchain ซึ่งต้องแยกให้ชัดเจน ระหว่าง public และ private โดย public blockchain ปัจจุบันเน้นอยู่บนธุรกรรมด้านการเงิน โดยเฉพาะการซื้อขาย ชำระเงิน ผ่านสกุลเงินดิจิตอลที่มีอยู่มากมายในเวลานี้ ซึ่งไม่ได้กล่าวถึงมากในบทความ แต่เนื้อหาในบทความจะมุ่งเน้นในส่วนที่เป็น private blockchain ซึ่งเป็นการก้าวเข้าสู่ยุค Blockchain 3.0 โดยตั้งใจนำ blockchain มาประยุกต์ใช้ในหลากหลายธุรกิจมากกว่า โดยทางผู้เขียนได้แนะนำค่ายต่างๆ ของ blockchain ให้รู้จักกันไว้เป็นเบื้องต้น ทั้งค่ายที่ใช้เทคโนโลยี blockchain จริงๆ กับค่ายที่ไม่ได้ใช้ blockchain แต่มองหามีวิธีบริหารจัดการในการกระจาย ข้อมูล ledger ให้มีประสิทธิภาพด้วยเทคนิคแบบอื่น ทำให้ตอนหลังเกิดการเรียกเทคโนโลยีว่าเป็น DLT แทนคำว่า blockchain

bottom of page